ตับ ดูแลด้วยเลซิติน



                                รักตับ มาดูแลตับกัน!!!



          หากคุณเบื่ออาหารโดยไม่มีสาเหตุ แน่นท้อง ท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อเป็นระจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้ต่ำเป็นประจำ ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยการป้องกันโรคมะเร็งตับ  (ข้อมูลจากนายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ )


          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายความสำคัญของตับไว้ว่า

"หากจะเปรียบให้เข้าใจง่ายๆ ตับก็เหมือนแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.2 กิโลกรัม"


ตับมีหน้าที่อะไร

–  เป็นแหล่งสร้างสารต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ
–  ตับมีหน้าที่สร้างน้ำดีและน้ำดีช่วยละลายไขมัน
– ตับเป็นแหล่งสะสมพลังงานและสารอาหาร
– ตับเป็นแหล่งผลิตพลังงานให้ร่างกาย ในการนำสารอาหารมาสลายให้พลังงาน
– ตับเป็นแหล่งทำลายพิษต่างๆและยา
– ตับช่วยเป็นเกราะกำลังที่สำคัญของร่างกาย




หากตับป่วย จะมีอาการอย่างไร

อาการทางโรคตับอาจแบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ อาการเฉพาะที่บริเวณตับและอาการอันเกิดจากการทำงานของตับที่ลดลง

อาการเฉพาะที่ จะมีอาการจุกแน่นชายโครงขวา หรือแค่ท้องอืดตื้นๆ หากตับโตมากๆ หรือมีอาการก้อนในตับอาจโตจนคลำตับได้หรือมีก้อนดันหน้าท้องนูนออกมา บางรายอาจรวมกับมีอาการปวดร้าวไหล่หรือสะบักด้านขวาได้

อาการซึ่งเกิดจาการทำงานของตับที่ลดลง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในกรณีที่ตับมีอาการเสื่อมการทำงานมากๆ จะทำให้ระดับโปรตีนในเลือดต่ำ เกิดเท้าบวม ท้องมาน มีภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง เลือดหยุดยาก หากเป็นมากๆอาจเกิดตับวายได้




ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับตับ

         1.  การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และเรื้อรังจนเป็นตับแข็ง

         2.  การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับ

         3.  โรคตับอักเสบจากไขมัน เกิดจากภาวะที่มีไขมันสะสมที่ตับเป็นจำนวนมาก อาจจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็งได้ ซึ่งอาจพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคอ้วน หรือในคนปกติก็ได้

         4.  การทานยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ทำให้ตับทำงานหนักและมีโอกาสเกิดการอักเสบ 

         5.  การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ เช่น สารหนู (arsenic) ทำให้ตับทำงานหนักและเกิดการอักเสบ


โรคต่างๆ เกี่ยวกับตับ



         
         ไขมันพอกตับ (Fatty Liver) หรือไขมันเกาะตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ หากไม่รักษาอาจส่งผลให้กลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ โดยพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในอายุ 40-50 ปีขึ้นไป 



ตับแข็ง (Liver Cirrhosis) เป็นโรคที่เป็นผลมาจากเนื้อเยื่อตับถูกทำลายต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจากหลายสาเหตุ จนเกิดแผลเป็นและพังผืดขึ้น ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ และอาจหยุดการทำงานลงจนนำไปสู่ภาวะตับวายเฉียบพลัน



ตับอักเสบ (Hepatitis) อาจเกิดจากจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือสาเหตุอื่น ๆ อย่างการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การใช้ยาเสพติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การได้รับสารพิษ โรคอ้วน รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันทำลายตับเอง ทำให้ตับเกิดความเสียหายจนเกิดอาการป่วยต่าง ๆ ตามมา หากตับอักเสบอย่างเรื้อรัง อาจทำให้การทำงานของตับผิดปกติ เกิดโรคตับแข็ง หรือเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้


มะเร็งตับ (Liver Cancer) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับก็ได้ ซึ่งมะเร็งตับส่วนใหญ่ก็มักมีที่มาจากสาเหตุหลังนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากซึ่งเป็นระยะที่ยากต่อการรักษา
 



กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับสูงที่สุดในโลก  มีข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า มะเร็งตับเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 1 ของคนไทย ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งตับ 20,000 คน ซึ่งในปี 2561 โรคมะเร็งตับคร่าชีวิตคนไทยถึง 15,912 คน 

เรามาดูแลตับด้วยเลซิติน ชนิดฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง กันเถอะ
เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคตับชนิดต่างๆ





เลซิติน...ช่วยบำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ

        สารสำคัญที่พบในเลซิติน คือ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ตับ


เลซิตินพบได้ในอาหารหลายชนิดจากทั้งพืชและสัตว์ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แครอท เนื้อสัตว์ ปลา รวมทั้งไข่แดง นม เนย ถั่วลิสง  แต่เลซิตินที่มีคุณภาพดีที่สุด คือเลซิตินจากถั่วเหลือง
      



   เลซิติน...ช่วยบำรุงตับ และลดการทำลายเซลล์ตับ ได้จริงหรือไม่?

     จริง เนื่องจากสารที่พบในเลซิตินเป็นสารที่มีความสำคัญ ทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมถึงเซลล์ตับด้วย นอกจากนี้สารสำคัญในเลซิตินยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติทั้งจากการดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบ่อย การได้รับสารเคมีหรือสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ตับ และช่วยป้องกันตับถูกทำลาย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เลซิติน มีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับได้

เลซิติน ช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้อย่างไร?




      โคลีนในเลซิตินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ตับบว่าหากขาดโคลีนจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้

      โคลีนจะมีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ทำให้ไขมันถูกนำไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น

      เลซิตินมีผลในการช่วยลดไขมันในเลือด โดยเฉพาะไขมันโคเลสเตอรอลที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้นการรับประทานเลซิตินจะทำให้ลดโอกาสเกิดภาวะไขมันพอกตับได้   



 เลซิติน กิฟฟารีน
เลซิติน กิฟฟารีนเสริมฤทธิ์ด้วยการผสมแคโรทีนอยต์ และวิตามิน อี เพื่อให้เลซิตินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลิตจากโรงงานที่ได้รับ มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพใช้วิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

รักตับให้เลซิติน ดูแลตับสิคะ

ข้อมูลเพิ่มเติม...


สอบถามข้อมูลเพิ่ม...

เบญจมาศ มณทิพย์  



 ID LINE: benjamas_monthip


........................................